72994 จำนวนผู้เข้าชม |
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด
มะเร็งเต้านมและการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็กและก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อนมะเร็งที่มีขนาดใหญ่หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว
หากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี ร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และถ้ายังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาสรอดชีวิตสูง
เต้านมของคนเราประกอบไปด้วยไขมัน เนื้อเยื่อ ต่อมน้ำนมประมาณ 15 – 20 กลีบ ภายในกลีบประกอบด้วยกลีบย่อยและมีถุงติดอยู่กับท่อน้ำนม ซึ่งจะเปิดยังหัวนม ภายในเต้านมยังมีหลอดเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งจะไปรวมกันยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
มะเร็งที่เกิดในท่อน้ำนมเรียกว่า Ductal Carcinoma เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมักจะไปตามต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้และอาจจะไปยังกระดูก ตับ ปอด และยังไปตามหลอดเลือด
เต้านมเปลี่ยนแปลงตามอายุและตามรอบประจำเดือน การหมั่นคลำเต้านมตัวเอง จะทำให้รู้ลักษณะปกติของเต้านม สามารถพบการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่เต้านมตั้งแต่แรก
ลักษณะเต้านมในแต่ช่วงเวลาของรอบเดือนจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน ช่วงก่อนมีรอบเดือนเต้านมจะตึงและคัด เมื่อคลำจะรู้สึกตึง คลำได้ต่อมน้ำนม แต่หลังจากประจำเดือนมาแล้วเต้านมจะนิ่มขึ้น ส่วนเต้านมในวัยทองจะเหลวนิ่ม เนื่องจากต่อมน้ำนมไม่ทำงาน สำหรับผู้ที่ตัดมดลูกโดยที่ไม่ได้ตัดรังไข่ เต้านมจะยังเหมือนเดิม
ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และ การค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และ ก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อนมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือ กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว
ปัจจัยเสี่ยง ระยะและสัญญาณเตือนภัยที่ควรรู้ ของมะเร็งเต้านม
จากข้อมูลระบาดวิทยาของมะเร็งเต้านม พบอุบัติการณ์มากอันดับแรกในหญิงไทยและหญิงทั่วโลก และสามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่ถึงจะฟังดูน่ากลัวแค่ไหนก็ตาม ในทางการแพทย์ก็ได้ยืนยันแล้วว่า การตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ประสบผลสำเร็จได้
ดังนั้น การศึกษาทำความรู้จักมะเร็งเต้านมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้เรารู้เท่าทัน ตัดสินใจเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที
มะเร็งเต้านม คืออะไร
12 ปัจจัย ที่สัมพันธ์กับโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านม
สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม อาการเป็นอย่างไร
มะเร็งเต้านม มีกี่ระยะ อะไรบ้าง
แนวทางป้องกัน มะเร็งเต้านม
แพทย์มีแนวทางวินิจฉัยมะเร็งเต้านมอย่างไร
มะเร็งเต้านม คืออะไร
มะเร็งเต้านม คือ มะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในเต้านม โดยเฉพาะเซลล์ท่อน้ำนม โดยเซลล์จะเริ่มแบ่งตัวผิดปกติแล้วลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง จากนั้นหากปล่อยไว้ อาจแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายได้ ผ่านทางเดินน้ำเหลือง
ที่มา : สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย
มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร
สำรวจอาการมะเร็งเต้านม อาการบ่งชี้มะเร็งเต้านมแต่ละระยะเป็นอย่างไร?
ในระยะเริ่มแรกของอาการมะเร็งเต้านม มักคลำพบก้อนที่เต้านม หรือบริเวณรักแร้ แต่ไม่รู้สึกเจ็บ หรือเต้านมมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป ขนาดใหญ่ เล็กไม่เท่ากันอย่างเห็นได้ชัดข้างใดข้างหนึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงของผิวเต้านม เช่น ผิวหนังแข็งหรือหนาขึ้น มีก้อนเนื้อที่นูนขึ้นหรือขรุขระ มีสีผิวเปลี่ยนแปลงไป เกิดแผลเรื้อรัง (หรือแผลที่รักษาไม่หาย) หรือเป็นรอยรูขุมขนชัดขึ้นเหมือนเปลือกผิวส้ม
ส่วนอาการมะเร็งเต้านมที่ค่อนข้างชัดเจน คือ มีอาการเจ็บปวดเต้านมข้างหนึ่ง อาจเป็นเล็กน้อยหรือเป็นมากก็ได้ มีอาการบวมแดง หัวนมยุบตัวเข้าไปในเต้านม หรือไม่สม่ำเสมอ โดยไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือไม่ได้เกิดจากการผ่าตัด มีของเหลว เช่น น้ำเหลืองใสๆ ที่ผิดปกติไหลออกจากหัวนม
มะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนม ซึ่งพบได้มากที่สุด ประมาณ 80% ส่วนมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต่อมน้ำนม จะพบได้น้อยกว่า โดยพบประมาณ 10%
นอกจากนี้ มะเร็งชนิดนี้อาจเกิดขึ้นจากการแพร่กระจายของมะเร็งมาจากอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน
มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่เกิดจากการกลายพันธุ์แบบโซมาติก (Somatic mutation) เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในภายหลังและมีโอกาสสูงขึ้นเมื่อบุคคลนั้นๆ มีอายุมากขึ้น เซลล์ที่กลายพันธุ์ไปจะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนเนื้องอกและมะเร็งในที่สุด ซึ่งการกลายพันธ์แบบโซมาติกจะไม่พบในทุกเซลล์ของร่างกายและไม่ส่งผ่านจากพ่อแม่สู่ลูก
ทั้งนี้การกลายพันธุ์ของเซลล์ตั้งแต่ในระยะเซลล์อสุจิหรือเซลล์ไข่ ส่งผ่านโดยตรงจากพ่อแม่ไปยังเด็กตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ เรียกการกลายพันธุ์พันธุกรรมที่ถ่ายทอดนี้ว่า ‘พันธุกรรมมะเร็ง’ (Germline mutation) ในปัจจุบันพบว่าพันธุกรรมมะเร็งเต้านมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สามารถตรวจพบในยีน (Gene) พบได้ประมาณ 5-10 % มียีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ ยีน BRCA
สำหรับยีน BRCA มี 2 ชนิด ได้แก่ ยีน BRCA1 และยีน BRCA2 เป็นกลุ่มยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ (Tumor Suppressor Gene) ในเซลล์ปกติ ยีน BRCA1 และยีน BRCA2 เป็นยีนปกติที่ช่วยซ่อมแซม DNA ที่เสียหาย ช่วยดำรงเสถียรภาพของสารพันธุกรรม และป้องกันการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ เพื่อไม่ให้กลายพันธุ์เป็นมะเร็ง
ยีน BRCA พบทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงที่มียีน BRCA1 หรือ BRCA2 ที่ผิดปกติจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ โดยมักจะเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุน้อย (ก่อนวัยหมดประจำเดือน) และมักจะมีญาติสายเลือดเดียวกันที่เป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่หลายคน นอกจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่แล้ว
คนที่มียีน BRCA1 ที่ผิดปกติยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ส่วนคนที่มียีน BRCA2 ที่ผิดปกติก็ยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งของถุงน้ำดี มะเร็งของท่อน้ำดี และมะเร็งของเซลส์เม็ดสี (melanoma) สำหรับผู้ชายที่มียีน BRCA1 ที่ผิดปกติ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งของอัณฑะ และมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่อายุยังน้อย ส่วนผู้ชายที่มียีน BRCA2 มีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมาก
อย่างไรก็ตามสมาชิกในครอบครัวมากกว่าหนึ่งคนสามารถเป็นมะเร็งได้ 2 ชนิดในร่างกาย แต่ไม่ได้หมายความว่าสมาชิกทุกคนในครอบครัวดังกล่าวจะต้องมียีน BRCA ที่ผิดปกติ และหากเกิดมะเร็งขึ้นในครอบครัวก็ไม่จำเป็นจะต้องเกิดจากยีน BRCA ที่ผิดปกติเท่านั้น มะเร็งเต้านมเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงนอกจากพันธุกรรม
โดยชั่วชีวิตหนึ่งโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งเต้านมในกลุ่มประชากรปกติมีประมาณ 12% (120 คนในประชากร 1,000 คน) แต่ในกลุ่มที่มีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือยีน BRCA2 จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมถึง 60% (600 คนในประชากร 1,000 คน) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงสูงกว่าประชากรปกติถึง 5 เท่า ส่วนโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งรังไข่ในกลุ่มประชากรปกติมีประมาณ 1.4% (14 คนในประชากร 1,000 คน) เปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีความผิดปกติของยีนจะมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่เพิ่มเป็น 15-40% (150-400 คนในประชากร 1,000 คน)
12 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านม
ในปัจจุบัน ยังคงมีการถกเถียงเพื่อหาข้อสรุปเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตาม พบว่ามีหลายปัจจัยที่ยืนยันแล้วว่ามีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดมะเร็งเต้านม ทั้งในแง่บวก และ ในแง่ลบ ได้แก่
มะเร็งเต้านม มีกี่ระยะ อะไรบ้าง
แรกเริ่มนั้น มะเร็งเต้านม แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากมักพบโรคในช่วงอายุ 50-60 ปี โดยแตกต่างกันตามเชื้อชาติ สำหรับข้อมูลในประเทศไทยพบมากในช่วงอายุ 45-50 ปี โดยร้อยละ 80 เป็นมะเร็งในระยะแรก (ระยะที่ 1-3) ร้อยละ 10 เป็นมะเร็งในระยะกระจาย (ระยะที่ 4) แต่การตรวจคัดกรองที่มากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้พบมะเร็งเต้านมระยะแรกมากขึ้นในประเทศไทย
ในยุคนี้ผู้หญิงมีการตรวจเช็คมะเร็งเต้านมบ่อยขึ้นและตรวจเป็นประจำ จึงเพิ่มระยะที่ 0 เข้าไปด้วย รวมทั้งสิ้นคือ 5 ระยะ
ระยะที่ 0 : เซลล์มะเร็งเพิ่งก่อตัว ยังอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ณ จุดที่ก่อตัว และยังไม่แบ่งตัวลุกลามสู่ภายนอกพื้นที่
ระยะที่ 1 : มะเร็งเริ่มลุกลามออกมานอกเนื้อเยื่อตรงจุดที่ก่อตัว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ มีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร
ระยะที่ 2 : ก้อนมะเร็งจะมีขนาดระหว่าง 2 – 5 เซนติเมตร (ไม่เกิน 5 เซนติเมตร) โดยจะยังไม่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
แต่ถ้ามะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร อาจสามารถแพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ได้
ระยะที่ 3 : ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตรขึ้นไป แล้วอาจเริ่มแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้จนทั่ว
ระยะที่ 4 : เป็นระยะที่มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด กระดูก ตับ สมอง เป็นต้น
ในระยะแรก ๆ เซลล์มะเร็งพึ่งจะก่อตัวขึ้น ยังไม่ทันลุกลามออกไปจากจุดที่ก่อตัว จึงยังสามารถรักษาได้ง่าย และโอกาสหายขาดสูงมาก
แนวทางป้องกัน มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มไม่มีอาการ การตรวจร่างกายอาจยังตรวจไม่พบ เนื่องจากรอยโรคเล็กมากจึงเปรียบเสมือน “มฤตยูเงียบ” การตรวจคัดกรองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการคลำเต้านมอย่างถูกวิธี ไปจนถึงการเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Mammogram) และอัลตราซาวด์ (Ultrasound) จึงมีความสำคัญ
หมอที่เก่งที่สุดในโลก คือ ร่างกายมนุษย์
หมอที่เก่งที่สุดในร่างกายมนุษย์ คือ "ภูมิคุ้มกัน"
สรุป สารสกัดเซซามิน (Sesamin)
เข้าไปทำอะไรกับ เซลล์มะเร็ง
ข่าวการค้นพบสารเซซามินจากงาดำ เป็นผลงานวิจัยของ ม.เชียงใหม่ การค้นพบในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก ถือว่าเป็นการพัฒนาไปอีกก้าวของวงการแพทย์ไทย และที่สำคัญ นี่เป็นครั้งแรกของโลก ที่พบว่าสารเซซามิน (Sesamin) ที่พบนั้นจะไปยั้บยั้งการฟื้นฟูเซลล์จากการถูกทำลาย หรือพูดง่ายๆ ว่า มีโอกาสที่จะใช้ในการยับยั้งมะเร็งได้ด้วย
สารสกัด...เซซามิน เข้าไปทำอะไรกับ เซลล์มะเร็ง
คลิ๊ก.....ชมคลิปนี้ !!!
สุดยอดงานวิจัยไทย...
ค้นพบ 4 คุณสมบัติสำคัญ
เซซามิน สารสกัดจากงาดำ
ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ นักวิจัย ม.เชียงใหม่
ค้นพบ "สารสกัดเซซามิน (Sesamin)"
จากงาดำ....ทำลายเซลล์มะเร็ง
คณะนักวิจัยที่ค้นพบสรรพคุณ ของสารสกัดเซซามิน (Sesamin) ในเมล็ดงาเมล็ดเล็กๆ นี้นำทีมโดย ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ ผู้ทุ่มเทเวลาทั้งชีวิตของท่านอยู่ในห้องทดลอง เพื่อค้นคว้าหาหนทางใหม่ๆ มาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สารเซซามิน (Sesamin) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
สารเซซามิน (Sesamin) ช่วยยั้บยั้งการอักเสบ
สารเซซามิน (Sesamin) ช่วยลดทั้งการสังเคราะห์และลดการดูดซึมสารโคเรสเตอรอล
สารเซซามิน (Sesamin) ทำให้มะเร็งบางชนิดเข้าสู่ขบวนการทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์ตาย
สารเซซามิน (Sesamin) ช่วยยั้บยั้งการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้
สารเซซามิน (Sesamin) กระตุ้นให้ร่างกายสร้างสาร IL2 และ IFN-Gramma จากเม็ดเลือดขาว
สารเซซามิน (Sesamin) ช่วยดูแลเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด
สารเซซามิน (Sesamin) ทำหน้าที่ช่วยเผาผลาญกรดไขมัน
สารเซซามิน (Sesamin) ช่วยทำให้ วิตตามิน E ทำงานได้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
สารเซซามิน (Sesamin) ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย
สารเซซามิน (Sesamin) ช่วยลดอาการปวด และอักเสบบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
สารเซซามิน (Sesamin) ลดการเสื่อมสลายของข้อกระดูก และกระดูกอ่อน
สารเซซามิน (Sesamin) กระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก
สารเซซามิน (Sesamin) ยับยั้งการดูดซึมและสังเคราะห์โคเลสเตอรอลภายในร่างกาย
สารเซซามิน (Sesamin) มีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต
สารเซซามิน (Sesamin) ช่วยในการกำจัดสารพิษของตับ
สารเซซามิน (Sesamin) กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
สารเซซามิน (Sesamin) มีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยเสริมฤทธิ์ของวิตามินอีให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย ที่ได้ทำการศึกษาที่หน่วยวิจัยมที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิด
(Thailand Excellence Center for Tissue Engineering and Stem Cells) พบว่า
1. สารสกัดเซซามิน สามารถยับยั้งการทำงานของสารสื่ออักเสบ ชนิด IL-1 Beta ได้ โดยการศึกษา ได้ทำการวิจัยในเซลล์กระดูกอ่อนที่ถูกกระตุ้นด้วย IL-1 Beta และ เซซามิน (Sesamin) จากนั้นทำการศึกษาระดับโมเลกุล และพบว่า สารเซซามิน (Sesamin) สามารถยับยั้งการออกฤทธิ์ของ IL-1 Beta ได้ เป็นผลทำให้มีการลดลงของเอนไซม์ MMP13 ที่ไปย่อยสลายคอลลาเจน และสารชีวโมเลกุลอื่นในกระดูกอ่อน ได้อย่างชัดเจน
2. สารสกัดเซซามิน สามารถลดปริมาณการสร้าง หรือสังเคราะห์ของสารสื่ออักเสบชนิด Interleukin-1 Beta และ Tumor Necrosis Factor-Alpha ได้ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัย โดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ซึ่งเป็นผลทำให้การหลั่งสารสื่ออักเสบเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อได้รับสารสกัดเซซามิน (Sesamin) ร่วมด้วย จะทำให้มีการสร้าง และปล่อยสารสื่ออักเสบ IL-1 Beta ออกมาลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แสดงดังรูป
จากรูปแสดงให้เห็นว่า สารสกัดงาดำ เซซามิน สามารถยับยั้งการสร้างและปล่อยสารสื่ออักเสบออกมาจากเม็ดเลือดขาว
3. เมื่อทำการศึกษาวิจัยในอาสาสมัคร โดยให้กินแคปซูลงาดำ รำข้าวสีนิล และแป้งข้าวหอมมะลิที่ผ่านขบวนการนึ่งพิเศษ ขนาดบรรจุ 500 mg. จำนวน 2 แคปซูล ตอนเช้า และเย็น เป็นระยะเวลา 15 วัน เพื่อทำการตรวจสอบการแสดงออกของยีนส์ ที่สร้างสารชีวโมเลกุลชนิด Interleukin-2(IL-2) ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลที่ผลิตขึ้นมาจากเม็ดเลือดขาว และมีคุณสมบัติที่สามารถไปกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิต้านทานมากขึ้น ซึ่งพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของ Cytokines ทั้งสองชนิดในเลือดของอาสาสมัครทุกคน แสดงดังรูป
สารสกัดเซซามิน (Sesamin) คือ สารสกัดงาดำและธัญพืชสูตรที่ดีที่สุด
เป็นผลงานวิจัยของนักวิจัยดีเด่น ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยที่มีความเป็นเลิศ ทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิด คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ระดับโมเลกุลของไทย ซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และได้ยอมรับในเชิงวิชาการ โดยการได้จดสิทธิบัตรระดับโลก สามารถจัดจำหน่ายได้กว่า 78 ประเทศทั่วโลก
ปัจจุบันได้จดสิทธิบัตรเฉพาะประเทศ คือ ประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา เป็นที่เรียบร้อย
สารสกัดเซซามิน SESAMIN เหมาะกับใครบ้าง?
มะเร็ง....ทุกระยะมีพิษร้ายแรง
อย่ารอให้ถึงระยะสุดท้ายแล้วค่อยรักษา
ตัดสินใจช้าอาจจะเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของคุณ
>>>แต่มีโอกาสรอดถ้าคุณรีบตัดสินใจ